โปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่ทำงานกับกราฟิกที่ใช้งานกันมาก คือ โปรแกรม Adobe Photoshop ซึ่งเป็นโปรแกรมตกแต่งภาพที่นิยมใช้ในกลุ่มนักคอมพิวเตอร์กราฟิก เพราะใช้งานง่ายสามารถตอบสนองความคิดสร้างสรรค์ของผู้ใช้ได้อย่างดี ผู้ที่ไม่มีพื้นฐานทางการสร้างภาพกราฟิกสามารถเรียนรู้และทำความเข้าใจได้อย่างง่าย และเนื่องจากในปัจจุบันอินเตอร์เน็ตได้เข้ามามีบทบาทในการสื่อสารมากขึ้น มีการพัฒนาการนำเอาระบบมัลติมิเดียเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งในการท่องเว็บ เช่น มีการนำภาพเคลื่อนไหวทั้งแบบแอนนิเมชัน และแบบวีดีโอมาประกอบเว็บเพจ การนำรูปแบบ E-Learning, VDO, CAI, เกมส์ มาใช้ในระบบการเรียนการสอน ซึ่งต้องมีการศึกษาและเรียนรู้วิธีการสร้างภาพเคลื่อนไหวต่างๆ ซึ่งในโปรแกรมแต่ละตัวมีขีดความสามารถที่แตกต่างกัน
คอมพิวเตอร์มีรูปแบบในการสร้างภาพอยู่ 2 แบบหลัก ๆ คือ Vector graphics และ Bit Map Image ทั้ง 2 แบบมีวิธีการที่แตกต่างกัน ซึ่งผู้ที่ทํางานด้านกราฟฟิค (ภาพ) จําต้องทําความเข้าใจกับไฟล์ทั้งสองแบบนี้ให้ดี รวมทั้งโปรแกรมที่ใช้สําหรับการตกแต่งและแก้ไขภาพดังกล่าว
Vector graphics
Vector graphics โดยหลักการแล้วได้นำเอาเส้นตรง และ เส้นโค้ง (Line and Curves) มาสร้างเป็นโครงร่าง (Out line) ของภาพ เรียกว่า Vector แล้วทำการเติมสีลงบนโครงร่าง (Stroke color) และพื้นที่ที่ถูกล้อมรอบโดยโครงร่างนั้นๆ (Fill color) การสร้างโครงร่างของ Vector graphics จะใช้การคำนวณทางคณิตศาสตร์ในการกำหนดโครงร่าง และจัดเก็บไฟล์ภาพในลักษณะของตัวแปรทางคณิตศาสตร์ เป็นผลให้ไฟล์มีขนาดเล็ก อีกทั้งโครงร่างประกอบขึ้นจากเส้นตรง และ เส้นโค้ง จึงถูกขนานนามในวงการ graphics ว่าเป็นภาพลายเส้น (Draw type graphics) และประการสำคัญของไฟล์ภาพประเภทนี้คือ มีขอบภาพที่คมชัดมาก เมื่อภาพถูกพิมพ์ออกที่เครื่องพิมพ์ ดังนั้นจึงนิยมใช้ในการออกแบบงานโลโก ศิลปตัวอักษร งานภาพเขียน เป็นต้น ข้อดีอีกประการหนึ่งก็คือ คุณภาพของภาพไม่ขึ้นอยู่กับอัตราการขยาย (Resolution - independent) นั่นหมายถึงภาพถูกขยายให้ใหญ่แค่ไหนก็ได้ โดยไม่ลดทอนคุณภาพของภาพเลย ส่วนข้อเสียของไฟล์ภาพประเภทนี้คือ ภาพแลดูเป็นภาพวาดเมื่อเทียบกับไฟล์ภาพแบบ Bitmap ที่ดูลักษณะเป็นภาพถ่าย
สําหรับโปรแกรมที่ใช้สร้างหรือแก้ไข File แบบ Vector ก็คือโปรแกรม “Free Hand”, “Corel Draw” โดยเฉพาะโปรแกรม “Illustrator” ซึ่งเป็นของค่าย Adobe System ผู้ผลิตโปรแกรม Photoshop นั่นเอง ซึ่งโดยพื้นฐานของไฟส์ประเภทนี้จะจัดเก็บอยู่ในรูปแบบของ “โพสต์สคริปต์ไฟล์” (PostScript) โดย PostScript File เป็นภาษาที่ใช้ในการสั่งการและควบคุมการพิมพ์บนเครื่องพิมพ์ซึ่งเป็นมาตรฐานของ “Adobe” ดังนั้นผู้ที่ใช้โปรแกรมประเภทนี้ควรจะมีเครื่องพิมพ์ที่สนับสนุน PostScript File ด้วย จึงจะพิมพ์ภาพได้สมบูรณ์
ภาพแบบบิตแมป (Bitmap Images)
RGB ย่อมาจาก red, green และ blue คือ กระบวนการผสมสีจากแม่สี 3 สี คือสีแดง สีเขียวและสีน้ำเงิน การใช้สัดส่วนของสี 3 สีนี้ต่างกัน จะทำให้เกิดสีต่างๆ ได้อีกมากมาย
ระบบสี RGB เป็นระบบสีที่เกิดจากการรวมกันของแสงสีแดง เขียว และน้ำเงินโดยมีการรวมกันแบบ Addtive ซึ่งโดยปกติจะนำไปใช้ในจอภาพแบบ CTR (Cathode ray tube) ในการใช้งานระบบสี RGB ยังมีการสร้างมาตรฐานที่แตกต่างกันออกไปที่นิยมใช้งานได้แต่ RGBCIE และ RGBNTSC
ระบบสี RGB เป็นระบบสีของแสง ซึ่งเกิดจากการหักเหของแสงผ่านแท่งแก้วปริซึม
จะเกิดแถบสีที่เรียกว่า สีรุ้ง ( Spectrum ) ซึ่งแยกสีตามที่สายตามองเห็นได้ 7 สี คือ แดง แสด
เหลือง เขียว น้ำเงิน คราม ม่วง ซึ่งเป็นพลังงานอยู่ในรูปของรังสี ที่มีช่วงคลื่นที่สายตา
สามารถมองเห็นได้ แสงสีม่วงมีความถี่คลื่นสูงที่สุด คลื่นแสงที่มีความถี่สูงกว่าแสงสีม่วง เรียกว่า อุลตราไวโอเลต ( Ultra Violet ) และคลื่นแสงสีแดง มีความถี่คลื่นต่ำที่สุด คลื่นแสง ที่ต่ำกว่าแสงสีแดงเรียกว่า อินฟราเรด ( InfraRed) คลื่นแสงที่มีความถี่สูงกว่าสีม่วง และต่ำ กว่าสีแดงนั้น สายตาของมนุษย์ไม่สามารถรับได้ และเมื่อศึกษาดูแล้วแสงสีทั้งหมดเกิดจาก แสงสี 3 สี คือ สีแดง ( Red ) สีน้ำเงิน ( Blue)และสีเขียว ( Green )ทั้งสามสีถือเป็นแม่สีของแสง เมื่อนำมาฉายรวมกันจะทำให้เกิดสีใหม่ อีก 3 สี คือ สีแดงมาเจนต้า สีฟ้าไซแอน และสีเหลือง และถ้าฉายแสงสีทั้งหมดรวมกันจะได้แสงสีขาว จากคุณสมบัติของแสงนี้เรา ได้นำมาใช้ประโยชน์ทั่วไป ในการฉายภาพยนตร์ การบันทึกภาพวิดีโอ ภาพโทรทัศน์ การสร้างภาพเพื่อการนำเสนอทางจอคอมพิวเตอร์ และการจัดแสงสีในการแสดง เป็นต้น
ระบบสี CMYK
เป็นระบบสีที่ใช้กับเครื่องพิมพ์ CMYK ย่อมาจาก cyan (ฟ้าอมเขียว)magenta (แดงอมม่วง) yellow (เหลือง) key (ดำ ซึ่งเป็นชื่อสีที่นำมาใช้ การผสมสีทั้งสี่นี้ จะทำให้เกิดสีได้อีกหลายร้อยสี นำมาใช้ในการพิมพ์สีต่าง ๆ
RGB คือ
แสงสีน้ำเงิน + แสงสีเขียว = สีฟ้า (Cyan)
แสงสีน้ำเงิน + แสงสีแดง = สีแดง (Magenta)
แสงสีแดง + แสงสีเขียว = สีเหลือง (Yellow)
สีฟ้า (Cyan) สีแดง (Magenta) สีเหลือง (Yellow) นี้นำมาใช้ในระบบการพิมพ์ และ มีการเพิ่มเติม สีดำเข้าไป เพื่อให้มีน้ำหนักเข้มขึ้นอีก เมื่อรวมสีดำ( Black = K ) เข้าไป จึงมีสี่สี โดยทั่วไปจึงเรียกระบบการพิมพ์นี้ว่าระบบการพิมพ์สี่สี ( CMYK ) ระบบการพิมพ์สี่ส ี ( CMYK ) เป็นการพิมพ์ภาพในระบบที่ทันสมัยที่สุด และได้ภาพ ใกล้เคียงกับภาพถ่ายมากที่สุด โดยทำการพิมพ์ทีละส ี จากสีเหลือง สีแดง สีน้ำเงิน และสีดำ ถ้ลองใช้แว่นขยายส่องดู ผลงานพิมพ์ชนิดนี้ จะพบว่า จะเกิดจากจุดสีเล็ก ๆ สี่สีอยู่เต็มไปหมด การที่เรามองเห็นภาพมีสีต่าง ๆ นอกเหนือจากสี่สีนี้ เกิดจากการผสมของเม็ดสีเหล่านี้ใน ปริมาณต่าง ๆ คิดเป็น % ของปริมาณเม็ดสี ซึ่งกำหนดเป็น 10-20-30-40-50-60-70-80-90 จนถึง 100 %
1. ใช้แสดงผลงานด้วยภาพแทนการแสดงด้วยข้อความ
2. ใช้แสดงแผนที่ แผนผัง และภาพของสิ่งต่างๆ
3. คอมพิวเตอร์กราฟิกสามารถนำมาสร้างภาพนิ่ง ภาพสไลด์ ภาพยนตร์ และรายการวิดีโอ
4. คอมพิวเตอร์กราฟิกได้ถูกนำมาใช้ในการออกแบบมาเป็นเวลานาน เราคงจะเคยได้ยินคำว่า CAD (Computer - Aided Design) ซึ่งเป็นโปรแกรมสำหรับช่วยในการออกแบบทางวิศวกรรม
5. ระบบข้อมูลทางภูมิศาสตร์ หรือ GIS (Geographical Information System) ก็เป็นรูปแบบหนึ่งของการแสดงข้อมูลในทำนองเดียวกับกราฟและแผนภาพ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น